การแต่งงาน

Rechtsanwaltskanzlei Bümlein

คำเเนะนำเรื่องการจดทะเบียนสมรสระหว่างบุคคลสัญชาติเยอรมันในประเทศเยอรมัน

 

เอกสารของคู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยที่จะมาประกอบการจดทะเบียนสมรสมีดังนี้

  • สูติบัติ หรือหนังสือรับรองการเกิดที่มีรายละเอียดครบถ้วนเช่นเดียวกับสูติบัติ
  • ใบรับรองถิ่นพำนักในประเทศเยอรมัน ใบรับรองถิ่นพำนักจากกรมกองทะเบียนที่เเจ้งอยู่ต้อง มีอายุไม่เกิน 10 วัน
  • หนังสือเดินทาง
  • ใบสำเนาทะเบียนบ้าน
  • ใบรับรองจากเเพทย์ รับรองว่าไม่มีการตั้งครรภ์

เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพโสด

  • หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าเป็นบุคคลที่ไม่เคยจดทะเบียนสมรสกับผู้ ใด หนังสือรับรองสถานภาพออกให้โดยสำนักเขต/ที่ว่าการอำเภอที่ผู้ร้องเเจ้งพำนัก อยู่ เเละต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน *
  • คำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนบ้านครอบครัวที่สำนักงานทะเบียนกลาง*

เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพหย่า

  • หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าหลังจากหย่าจากคู่สมรสเดิมเเล้วยังไม่ ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก หนังสือรับรองสถานภาพออกให้โดยสำนักเขต/ที่ว่าการอำเภอที่ผู้ร้องเเจ้งพำนัก อยู่ เเละต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน *
  • เเละหนังสือรับรองสถานภาพหลังจากหย่าจากคู่สมรสเดิมเเล้วยังไม่ได้ จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีกหนังสือรับรองสถานภาพออกให้โดยกองทะเบียนศูนย์ กลางของกรมการปกครองจากกรุงเทพ ฯลฯ เพิ่มเติมอีกหนึ่งฉบับ*
  • ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก ( คร. 2 ) กับคู่สมรสเดิม*
  • ทะเบียนการหย่า พร้อมบันทึก ( คร. 6 ) กับคู่สมรสเดิม *
  • ใบสำคัญการหย่า (คร. 7 )*
  • คำพิพากษาของศาลเรื่องหย่า ( เฉพาะผู้ร้องที่หย่าตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น )

เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพหม้าย

  • หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าหลังจากที่คู่สมรสเสียชีวิตเเล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก
  • ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก ( คร. 2 )
  • มรณบัตรของคู่สมรส
  • เอกสารต้นฉบับภาษาไทยจะต้องได้รับการรับรองจากสถานทูตฯ การดำเนินการรับรองเอกสารไม่ปลอมเเปลงโดยสถานทูตเยอรมันจะใช้เวลาประมาณ 6 – 8 สัปดาห์

เอกสารที่ประกอบการจดทะเบียนสมรสนี้จะต้องเเปลเป็นภาษาเยอรมัน

  • คุณสมบัติของคู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทย ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ที่ 1448-1453 ของประมวลกฏหมายเพ่งเเละพาณิชย์ บรรพ 5 ของไทย มีดังนี้
  • อายุอย่างต่ำ 20 ปี ( ไม่ถึง 20 ปี ต้องได้รับคำยิยยอมจากบิดามารดา หรืออนุญาตให้สมรสได้เเล้วเเต่กรณี )
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงกับคู่สมรสของตน
  • ชายหรือหญิงจะทำการสมรส ในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
  • หญิงที่สามีตาย หรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ก่อต่อเมื่อการสิ้นสุดเเห่งการสมรสได้พ้นไปเเล้วไม่น้อย กว่า 310 วัน ( ในกรณีคู่สมรสสัญชาติไทยที่จดทะเบียนอาจผ่อนผันไม่ต้องยึดถือตามกำหนดดัง กล่าวได้ หากฝ่ายหญิงสามารถเเสดงหลักฐานว่าตนเองมิได้อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ )

คำเเนะนำเพิ่มเติม

สำหรับคู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันที่มีสถานภาพ หย่า เเละจะมาจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยสถานทูตฯ ขอเเนะนำให้นำ คำพิพากษาของศาล ที่เเสดงว่าได้หย่าขาดจากคู่สมรสเดิมตัวมาด้วย เพราะบ่อยครั้งที่นายทะเบียนของไทยประสงค์ ที่จะขอทราบรายละเอียดของการหย่า