การพำนักในเยอรมนี

Rechtsanwaltskanzlei Bümlein

การเปลี่ยนแปลงกฏหมายการเดินทางเข้าเมืองและผลที่มีสำหรับคนไทย

 

ข้อมูลจากสำนักงานทนายความ บึมไลน์
กฏหมายของใบอนุญาตให้อยู่(วีซ่า)ได้ถูกเปลี่ยนแปลงใหม่ให้เหลือเพียงแค่สองแบบ
๑. แบบจำกัดเวลา (befristete Aufenthaltsgenehmigung)
๒. อนุญาตตั้งภูมิลำเนาแบบถาวร (unbefristete Aufenthaltsgenehmigung)
วีซ่าสำหรับการเดินทางเข้าเมืองนั้นก็ยังมีไว้อยู่ต่อไปเหมือนที่ผ่านมา
คนต่างด้าวที่ได้อยู่ในการครอบครองใบอนุญาตให้อยู่ ทั้งที่แบบจำกัดเวลาแล้วแบบถาวรนั้น สิทธิในการตั้งภูมิลำเนานั้นก็จะมีสืบต่อไป โดยไม่มีผลใดๆจากความเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

การอนุญาตให้เดินทางเข้าเมืองด้วยวีซ่านักท่องเที่ยว

กฏเกณฑ์ของกฏหมายสำหรับการเดินทางเข้าเมืองฉบับใหม่นั้นได้ถูกปรับปรุง ให้ขั้นตอนง่ายขึ้นเล็กน้อย หากจะเปรียบ เทียบกับกฏหมายสำหรับคนต่างด้าวฉบับก่อนนี้ ในฉบับใหม่นั้นได้ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่า คนต่างด้าวนั้นสามารถที่จะได้รับอนุญาตเดินทางเข้าเมืองได้ ถึงแม้ว่าผู้ยื่นนั้นได้ทำการละเมิดกฏหมายการเดินทางเข้าเมืองก็ตาม หากการเดินทางออกหรือการเดินทางกลับเข้าเมืองสำหรับคนต่างด้าวผู้นั้นมีขั้น ตอนที่ยุ่งยากเกินไป คนต่างด้าวนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องยื่นขอใบอนุญาตให้อยู่ได้ด้วยการสมรส หรือจากการกำเนิดบุตรซึ่งมีสัญชาติเป็นเยอรมัน ซึ่งหากเปรียเทียบกับกฏหมายฉบับก่อนการเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่มีข้อนี้ระบุไว้ ซึ่งในกรณีนี้กฏหมายนั้นได้หมายความว่าสิทธิเรียกร้องนั้นได้มีครบถ้วนอยู่ แล้ว

นอกเหนือจากนี้แล้วสิทธิการเรียกร้องขอนุญาตให้อยู่นั้นไม่จำเป็นต้อง ขึ้นอยู่กับขั้นตอนของแบบฟอร์ม ตามมาตราที่ ๙ การดำเนินขั้นตอนการออกอนุญาตของกฏหมายคนต่างด้าว (§ 9DV AuslG) อีกด้วย คุณสมบัติตามแบบฟอร์มของกฏหมายฉบับใหม่นั้นยกตัวอย่างเช่น การสมรสนั้นได้ถูกจดขึ้นในประเทศเยอรมนี และณ เวลาของการจดทะบียนสมรสนั้นคนต่างด้าวนั้นต้องมีใบอนุญาตให้อยู่อย่างน้อย ที่สุดใน”สภาพผ่อนผัน (Duldung)” และนอกเหนือจากนั้นแล้วการตรวจสอบของศาลต่อคำปฏิเสธของ Ausländerbehörder สำหรับการยื่นเรื่องขอต่อวีซ่านั้นก็ยากมากที่จะกระทำได้ เพราะกฏหมายสำ หรับคนต่างด้าวนั้นได้ระบุว่า คนต่างด้าวผู้ใดที่ได้เดินทางเข้ามาด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวและหลังจากนั้น ได้มีสิทธิที่จะทำการเรียกร้องขอใบอนุญาตอยู่ได้นั้น ก็ให้บุคคลผู้นี้ทำการเรียกร้องสิทธิของตนจากนอกขอบเขตของประเทศเยอรมนี และมาตราข้อนี้ไม่ได้มีระบุไว้ในกฏหมายสำหรับคนต่างด้าวฉบับใหม่ นั่นหมายความว่าคนต่างด้าวนั้นสามารถที่จะยื่นคำร้องทุกข์ตำหนิคำตัดสินของ Ausländerbehörder ในข้อระบุถึงการละเมิดในเรื่องวีซ่าของคนต่างด้าวผู้นั้นได้ พร้อมกันนั้นก็ยังสามารถที่จะยื่นคำร้องขอใบอนุญาตให้อยู่ได้

การยื่นคำร้องขอวีซ่าสำหรับเรียนภาษาและการศึกษา

วีซ่าสำหรับเจตนารมณ์ในการเดินทางเข้าเมืองเพื่อการศึกษาภาษาเยอรมันนั้น ได้รับการระบุไว้ในกฏหมายฉบับใหม่ด้วย และนอกจากนั้นแล้วก็ยังได้มีการระบุสิทธิที่เพิ่มขึ้นอย่างมากสำหรับนัก ศึกษาที่ได้สำเร็จการศึกษาด้วย ตามมาตรา ๑๘ ของกฏหมายสำหรับคนต่างด้าวฉบับใหม่นั้น นักศึกษาที่ได้สำเร็จการศึกษาแล้วนั้น มีสิทธิที่จะได้รับใบอนุญาตให้อยู่ได้ถึง ๑ ปี ภายใต้ข้อแม้สำหรับการแสวงหาหน้าที่การงานตามหลักการที่เหมาะสมต่อการศึกษา ของตนที่ได้สำเร็จมา ซึ่งตามกฏหมายฉบับก่อนนี้ไม่สามารถที่จะกระทำได้ และใบอนุญาตตามกฏหมายฉบับใหม่นั้นก็สามารถที่จะออกให้แก่คนต่างชาติผู้เดิน ทางเข้าเพื่อทำการศึกษาต่างๆ เช่น การศึกษาวิชาชีพ

การยื่นขอย้ายสำมะโนครัวอยู่ด้วยกันสำหรับคู่สมรสและบุตร

ตามกฏของการโยกย้ายสำมะโนครัวสำหรับคู่สมรสและบุตรนั้น เปรียเทียบกับข้อระบุในจุดนี้แล้วก็ไม่มีการเจาะจงหรือเข้มงวดมาเพิ่มเติม แต่อย่างใด ในจุดของ”คู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวทั้งคู่” นั้นได้ระบุถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเล็กน้อยสู่สถานการณ์ของการโย้กย้าย สำมะโนครัวมาอยู่ด้วยกัน เช่น ในกรณีคู่สมรสคนสัญชาติไทย ในกรณีที่ไม่มีการรับรองเรื่องรายได้นั้นตามกฏแล้วจะไม่ได้ถูกนำมาใช้เป็น เหตุผลในการปฏิเสธเรื่องการอนุญาตให้ย้ายสำมะโนครัวร่วมกันเสมอไป

กฏที่ได้ระบุไว้จนถึงปัจจุบันนี้คือ”รายได้ของผู้ยื่นคำร้องนั้นจะถูกนำมาเป็นข้อบังคับที่ต้องมีรายได้เพียงพอที่รับรอง

อย่างไร้ข้อแม้ใดๆทั้งสิ้น” ตามกฏหมายฉบับใหม่นั้นไม่มีการระบุข้อบังคับนี้ไว้ ซึ่งหมายความว่ารายได้ของผู้ยื่นจำร้องนั้นจะได้รับการพิจารณาตามสถานกา ร์และบุคคล นอกเหนือจากนั้นแล้วคู่สมรสคนไทยนั้นก็สามารถที่จะประกอบอาชีพหรือทำกิจการ ของตนเองได้โดยไม่ต้องรอกำหนดของคำอนุญาตก่อนแต่อย่างใด ข้อนี้จะถูกวัดตามสิทธิของใบอนุญาตให้อยู่จากคู่สมรสผู้ครอบครองสิทธินี้ และสำหรับบุตรที่อายุตำกว่า ๑๖ ปีนั้นก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเข้มงวดมาเพิ่มเติมในข้อนี้

ใบอนุญาตให้อยู่แบบถาวร (unbefristete Aufenthaltsgenehmigung)

ในกฏหมายฉบบับนั้นคนไทยก็ยังสามารถที่จะได้รับใบอนุญาตตั้งภูมิลำเนาได้ หลังจาก ๓ ปีที่ได้สมรสกับบุคคลสัญชาติเยอรมันเหมือนเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ อย่างใดทั้งสิ้น ภายใต้ข้อแม้ที่ว่า ระยะเวลาของการครองชีพคู่สมรสทั้งสองคนนั้นต้องมีอย่างน้อย ๓ ปี แล้วการครองคู่อยู่ด้วยกันก็ยังจะมีสืบต่อไปอีกด้วย พร้อมกันกับรายได้ของคู่สมรสนั้นเพียงพอสำหรับการครองชีพและคู่สมรสฝ่ายคน ไทยนั้นสามารถที่จะสื่อสารด้วยภาษาเยอรมันได้

ซึ่งในกรณีตรงข้ามนั้นจะยากขึ้นมากสำหรับการยื่นคำขอต่อใบอนุญาตให้อยู่ แบบถาวร ถ้าหากว่าคู่สมรสทั้งสองนั้นได้แยกจากกันหลังจาก ๓ ปี ในกรณีนี้กฏหมายใหม่ได้ระบุว่า บุคคลคนต่างชาตินั้นต้องได้มีการเสียภาษีเงินบำนาญ(Renten-beiträge)ใน ประเทศเยอรมนีมาอย่างน้อย เป็นระยะเวลา ๖๐ เดือน ซึ่งเวลาที่ได้ทำการเลี้ยงดูบุตรนั้นก็จะถูกรวมไว้ด้วย

ในข้อเรื่องความรู้และความสามารถในภาษาเยอรมันนั้นก็ได้ถูกเพิ่มความเข้ม งวดขึ้นอย่างมาก และนอกจากนั้นกฏเกณฑ์ของระบบสังคมและการดำรงชีพนั้นก็ถูกระบุเพิ่มขึ้น สำหรับการพิจารณา ในกรณีนี้แล้วซึ่งน้อยคนที่ได้ทำงานเสียภาษีตามกฏหมายบังคับมาอย่างน้อย ๕ ปีสำหรับข้อแม้ของการยื่นคำขอต่อใบอนุญาตให้อยู่ อาจจะง่ายกว่ามาก(ณ จุดนี้ต้องพิจารณาตามสถานการณ์ของบุคคลนั้นๆ) ที่จะยื่นเรื่องขอเปลี่ยนสัญชาติ

การเนรเทศ (Ausweisung)

ตามกฏหมายใหม่ในข้อของการเนรเทศนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแต่อย่างใด

สำหรับคำถามหรือคำแนะนำเพิ่มเติมนั้น ทางสำนักงานของเรายินดีที่จะให้การปรึกษา