หลังจากการแยกกันอยู่แล้วมีหลายสิ่งที่คุณเองนั้นต้องคำนึงถึงเสมอ โดยทางสำนักงานเราได้ทำการสรุปเพื่อให้คุณได้ทราบ เมื่อเกิดเหตุการณ์แยกกันอยู่ระหว่างคุณและคู่สมรสในอนาคต

ในกรณีที่คุณไม่มีการทำหนังสือสัญญาสมรส และไม่ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆไว้ ในกรณีที่คุณไม่ต้องการให้เกิดเรื่องทะเลาะเบาะแว้งหลังจากแยกกันอยู่แล้ว คุณควรจะมีการพิจารณาที่จะทำหนังสือข้อตกลงเรื่องการแยกกันอยู่และการหย่าร้างกับฝ่ายที่ยังเป็นสามีหรือภรรยาคุณอยู่ และทำการตกลงกันในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. เรื่องที่พัก ในกรณีที่การอยู่ร่วมในบ้านหลังเดียวกันนั้นไม่สามารถเป็นไปได้แน่นอนว่าอาจมีการตั้งคำถามขึ้นว่าใครควรจะอยู่ในบ้านที่คุณเคยอยู่ร่วมกันกับคู่สมรสต่อไป สำหรับเรื่องที่พักที่เรากล่าวถึงนั้นไม่ใช่แค่เพียงบ้านหรือห้องเช่า หากแต่ยังเหมารวมถึงบ้านส่วนตัวของพวกคุณเองด้วย คู่สมรสทั้งสองฝ่ายนั้นสามารถทำการตกลงตามแต่สถานการณ์ไป ในกรณที่ทั้งสองคนไม่สามารถตกลงกันได้ คุณสามารถดำเนินเรื่องผ่านศาลเพื่อให้ศาลช่วยตัดสินได้ ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องอยู่บ้านกับลูกเล็กที่ยังต้องการความช่วยเหลือดูแล นั้นมีโอกาสที่ฝ่ายนั้นจะสามารถพำนักอยู่ในบ้านต่อไปได้ และอีกฝ่ายจำเป็นต้องย้ายออกไป ถึงแม้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นเจ้าของบ้านแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่นั่นเป็นแค่วิธีแก้ไขระยะชั่วคราวเท่านั้น แต่อย่างที่เราได้แจ้งไว้แล้วว่าทางศาลจะเป็นผู้พิจารณาตามแต่ละกรณีไป
  2. เรื่องบัญชีธนาคารที่เปิดร่วมกันรวมถึงหนี้สินต่างๆ ในกรณีที่ไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์เรื่องต่างๆไว้ แสดงว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายนั้นเป็นเจ้าของทรัพย์สินในบัญชีที่เปิดร่วมกันนั้นคนละครึ่งเท่าๆกัน โดยไม่สนว่าใครจ่ายและออมเข้าบัญชีไปเท่าไหร่ กล่าวโดยง่ายคือ บัญชีธนาคารนั้นจะถูกหารสองหลังจากแยกกันอยู่ ไม่มีการอนุญาตให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถือครองแต่เพียงผู้เดียว หากจะให้ดีที่สุดทั้งสองฝ่ายควรจะมีการตกลงเรื่องทรัพย์สินต่างๆเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ก่อน โดยบัญชีที่เปิดร่วมกันควรจะมีการยกเลิก และต้องมีการคุยกันว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ชำระหรือดูแลสัญญาฉบับใดหรือบัญชีใด นอกเหนือจากนี้หลายคนอาจแปลกใจว่า หลังจากมีการแบ่งแยกกันทรัพย์สิน บัญชีกันแล้วนั้น แต่ทำไมตนเองยังต้องจ่ายหนี้สินต่างๆแทนอีกฝ่ายหนึ่งได้เคยจ่ายไว้ต่อไป โดยคุณอาจคิดว่า อีกฝ่ายได้มีการจ่ายค่าไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ ไปคนเดียวแล้ว เพราะว่าเขาเองก็เป็นคนใช้สิ่งของทุกอย่างตามสัญญาต่อไป
  3. เรื่องทรัพย์สินอื่นๆและเรื่องข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน กล่าวคือทรัพย์สินหรือสิ่งของต่างๆที่เคยใช้ร่วมกันนั้นจะต้องมีการแบ่งกันให้ชัดเจน หรือในบางกรณีนั้นจะต้องมีการขายบ้านที่มีร่วมกัน หรือว่าอีกฝ่ายเป็นคนจ่ายให้อีกฝ่ายหนึ่งทดแทน ในกรณีที่ไม่มีการทำหนังสือสัญญาสมรสที่มีการตกลงเรื่องสินส่วนตัวแบ่งของใครของมัน นั่นอาจจะทำให้เกิดมีการดำเนินเรื่องแบ่งแยกทรัพย์สินเกิดขึ้น โดยในกรณีนี้ เช่น อาจทำให้ฝ่ายภรรยาหลายคนที่ได้มีการซื้อบ้านที่ประเทศไทยในช่วงที่ตนเองสมรส ส่วนฝ่ายสามีอาจมีเงินฝากในบัญชีส่วนตัวของตนเอง ในกรณีดังกล่าวหากตามกฎหมายประเทศเยอรมนีแล้วจะมีการแบ่งทรัพย์สินในช่วงสมรสจนถึงวันที่ใบฟ้องหย่าถูกส่งไปถึงอีกฝ่ายให้รับทราบ โดยการแบ่งทรัพย์สินนั้นจะถูกนับรวมเฉพาะส่วนที่งอกเงยขึ้นมา หากฝ่ายภรรยามีทรัพย์สินในช่วงสมรสงอกเงยขึ้นมามากกว่าฝ่ายสามี นั่นหมายความว่าฝั่งภรรยาจะต้องแบ่งส่วนที่เป็นส่วนต่างให้กับฝ่ายสามีครึ่งหนึ่ง และถึงแม้ว่าบ้านนั้นที่คุณซื้อนั้นจะอยู่ที่ประเทศไทยก็ตาม

ในฉบับหน้าเราจะกล่าวถึงเรื่องค่าเลี้ยงดูสำหรับคู่ครองและสำหรับบุตร

 

ทนายความหญิง นิโคล ไบเยอร์

ทนายความหญิงด้านกฎหมายสังคม