สำหรับกรณีการรับมรดกต่างๆที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2015 เป็นต้นไป ให้เป็นไปตามกฎหมายข้อบัญญัติใหม่ของสหภาพยุโรป โดยข้อบัญญัติใหม่นี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นค่อนข้างมาก และมีผลเกี่ยวเนื่องอย่างยิ่งต่อคนต่างชาติที่ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเยอรมนี รวมถึงชาวเยอรมันเองที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ และบุคคลครอบครองทรัพย์สินในหลายๆประเทศด้วย กล่าวคือข้อบัญญัตินี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากว่ามีข้อพิพาทเกี่ยวกับการรับมรดกมากมาย โดยต่อปีตกอยู่ที่ประมาณ 450,000 กรณี เฉพาะข้อพิพาทที่มีความเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ และมูลค่าของข้อพิพาทเกี่ยวกับการรับมรดกในเขตยุโรปนั้นตกอยู่ที่ประมาณ 120 พันล้านยูโร

ในการเปลี่ยนแปลงข้อบัญญัติใหม่นี้จะถูกเปลี่ยนแปลงจากหลักการแบบเชื้อชาติเป็นหลักการตามการพำนัก กล่าวคือสิทธิการรับมรดกนั้นจะไม่เป็นไปตามกฎหมายบ้านเกิดของบุคคลที่เสียชีวิต จะเปลี่ยนไปตามกฎหมายของประเทศที่ผู้เสียชีวิตได้ใช้ชีวิตอยู่ล่าสุด โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบถึงสิทธิการรับมรดกตามกฎหมาย และสิทธิการรับมรดกแบบบังคับ (Pflichtteil) ด้วย

เราขอยกอย่าง เช่น ผู้หญิงไทยคนหนึ่งอาศัยอยู่ที่ประเทศเยอรมนี และมีเงินฝากในบัญชี มีของมีค่ามากมาย ที่ประเทศเยอรมนี และยังมีที่ดินที่ประเทศไทยด้วย โดยจนถึงเดือน สิงหาคม ค.ศ. 2015 ที่ดินที่ประเทศไทยจะถูกแบ่งตามกฎหมายรับมรดกของประเทศไทย เพราะตามกฎหมายโดยปกติแล้วจะเลือกใช้กฎหมายการแบ่งอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน หรือห้องพัก ของประเทศที่ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นๆตั้งอยู่  สำหรับทรัพย์สินที่จะทำการแบ่งรับมรดกที่อยู่ที่ประเทศเยอรมนีนั้นสามารถให้มีกฎหมายไทยมาเกี่ยวเนื่องได้ เนื่องจากว่าผู้หญิงนั้นเป็นคนไทย

หากตามข้อบัญญัติใหม่นั้นจะไม่เกี่ยวข้องถึง หากผู้หญิงไทยคนนั้นได้พำนักอาศัยอยู่ที่ประเทศเยอรมนี เขาจะมีสิทธิได้รับมรดกทรัพย์สินต่างๆ ตามกฎหมายของประเทศเยอรมนี รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ต่างๆที่อยู่ต่างประเทศ ก็จะถูกแบ่งตามกฎหมายรับมรดกของประเทศเยอรมนี โดยบุคคลหนึ่งคนสามารถมีถิ่นพำนักได้เพียงที่เดียว สำหรับคำกล่าวถึงเรื่องถิ่นพำนักทางข้อบัญญัติใหม่ไม่ได้มีคำจำกัดความไว้ หากเกิดเรื่องแบ่งแยกการรับมรดกเกิดขึ้นจะต้องมีการกำหนดแน่ชัดว่าถิ่นพำนักจนถึงช่วงที่เสียชีวิตนั้นคือที่ไหน  โดยคำนึงถึงและพิจารณาถึงที่พำนักที่ผู้เสียชีวิตได้ใช้ชีวิตอยู่ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ที่ผู้เสียชีวิตได้เดินทาง โดยกฎหมายการรับมรดกนั้นไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ปลายทางที่ผู้เสียชีวิตต้องการจะเดินทางไป แต่ขึ้นอยู่กับที่อยู่โดยพื้นฐานทั่วไปตามที่อยู่หลักของคนที่เสียชีวิตในกรณีนี้คือตามกฎหมายของประเทศเยอรมนี

หากในกรณีที่คนต่างชาติที่อยู่ที่ประเทศเยอรมนีหรือชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ ต้องการที่จะให้กฎหมายบ้านเกิดเมืองนอนตนเองใช้ต่อไปในกรณีที่มีเรื่องการแบ่งแยกมรดกเกิดขึ้น คุณสามารถทำการเลือกใช้กฎหมายได้ โดยต้องตระหนักถึงขั้นตอนการทำเอกสารอย่างเป็นทางการตามที่ประเทศนั้นๆได้กำหนดไว้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเยอรมนีต้องมีการทำแบบฟอร์มเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ โดยการเลือกใช้กฎหมายนั้นสามารถระบุความต้องการเข้าไปได้ในพินัยกรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำพินัยกรรมแบบเขียนเองกับมือ หรือทำพินัยกรรมอย่างเป็นแบบฟอร์มทางการที่ทางเจ้าหน้าที่โนทาร์ โดยจะสามารถเลือกใช้กฎหมายของประเทศที่ผู้เสียชีวิตได้ใช้ชีวิตอยู่ช่วงที่ทำการเลือกกฎหมายการรับมรดก หรือประเทศที่เกี่ยวเนื่องถึงช่วงที่เสียชีวิตลง โดยประเทศที่เกี่ยวโยงอาจเป็นประเทศที่อยู่ในเขตสหภาพยุโรป หรือเป็นประเทศที่สามก็ได้ นั่นหมายความว่า ชาวอิตาลีท่านหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนีสามารถเลือกใช้กฎหมายของประเทศอิตาลีได้ สำหรับคนไทยคือเลือกใช้กฎหมายรับมรดกของไทย สำหรับคนที่มีหลายเชื้อชาติสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ข้อบังคับตามกฎหมายของประเทศใด สำหรับข้อตกลงหรือความต้องการต่างๆไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีความเกี่ยวโยงกับการเลือกใช้กฎหมาย การเลือกใช้กฎหมายสามารถขอถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงได้ ในกรณีดังกล่าวคุณต้องตระหนักถึงการทำแบบฟอร์มเป็นทางการด้วย

 

ทนายความหญิง นิโคล ริเนา

ทนายความหญิงผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายทางสังคม