ส่วนที่ 3 ในหัวข้อเรื่องสิ่งที่ตามมาทางกฎหมายในเรื่องการแยกกันอยู่และหย่า จะกล่าวถึงเรื่องลูก ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องลูกนั้นเราไม่สามารถทำการตกลงหารสองแบ่งให้เท่าๆกันเหมือนกับแบ่งทรัพย์สินได้ หลังจากที่แยกกันอยู่แล้วฝ่ายที่เป็นพ่อและแม่มีหน้าที่ในการหาทางแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุดสำหรับลูก ในการตกลงเรื่องลูกนั้นแต่ละครั้งนั้นไม่ควรที่จะคำนึงถึงความภาคภูมิใจของพ่อแม่เป็นหลัก หรือคำนึงถึงความต้องการส่วนตัว หากแต่เกี่ยวเนื่องกับลูกของคุณที่ต้องการทั้งความรัก และความเอาใจใส่ทั้งจากพ่อและแม่ ในกรณีนี้ผู้เป็นพ่อและแม่ต้องพยายามทำการตกลงไกล่เกลี่ยกันที่  Jugendsamt หรือหากตกลงกันไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายต้องไปตกลงกันผ่านศาล

  1.  เรื่องสิทธิปกครองบุตร

การแยกกันอยู่หรือการหย่าร้างของผู้ที่เป็นพ่อและแม่นั้นไม่ได้ทำให้สิทธิในการปกครองบุตรเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยทั้งสองฝ่ายสามารถตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญร่วมกันได้ ฝ่ายที่อยู่ดูแลเลี้ยงดูลูกจะต้องดำเนินเรื่องขอคำยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ เช่น ยินยอมให้ลูกอยู่กับอีกฝ่ายได้ หรือในกรณีการย้ายไปอยู่ต่างประเทศกับลูกที่มีร่วมกันหรือรวมถึงย้ายไปอยู่ในรัฐอื่น เช่นเดียวกับในกรณีที่ต้องตัดสินใจในเรื่องการแพทย์ เรื่องเลือกโรงเรียน เป็นต้น ในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายอาศัยอยู่ห่างไกลกันมาก ฝั่งที่ดูแลลูกสามารถทำเรื่องยื่นหนังสือมอบอำนาจว่าตนนั้นมีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆได้แต่เพียงผู้เดียว ในคำถามต่างๆที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันฝั่งที่มีหนังสือมอบอำนาจนั้นก็สามารถดำเนินเรื่องได้โดยที่ไม่ต้องได้รับคำยินยอมจากแฟนคนเก่าของตนนั่นเอง

  1. เรื่องการเยี่ยมเยือนบุตร

เรื่องต่อไปที่หลังจากหย่าร้างกันไปที่ต้องตัดสินใจคือเรื่องสิทธิการเยี่ยมเยือนบุตร เนื่องจากว่าส่วนมากแล้วฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้ที่ย้ายออกไปหลังการหย่า หากการใช้ชีวิตหลักของลูกนั้นอยู่กับอีกฝ่ายตลอดไป อีกฝ่ายที่ไม่ได้อยู่กับลูกนั้นจะต้องได้รับการอนุญาติให้มีสิทธิในการมาเยี่ยมเยือนลูกเช่นเดียวกัน ในกรณีนี้ทั้งสองฝ่ายจะต้องตกลงกันถึงเรื่องช่วงเวลาที่มาเยี่ยมเยือน และกิจกรรม รวมถึงหน้าที่ต่างๆด้วย โดยฝั่งพ่อหรือแม่ที่ไม่ได้เป็นฝ่ายที่อยู่ดูแลลูกไม่อนุญาตให้ไปรับลูกจากโรงเรียนอนุบาลโดยที่ไม่มีการได้พูดคุยกับอีกฝ่ายก่อน การเยี่ยมเยือนลูกนั้นจะต้องมีการชี้แจงกันก่อน และระบุตกลงให้ชัดเจนระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยรูปแบบในการเยี่ยมเยือนนั้นทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันเองได้ แต่การตกลงกันนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการของตัวลูกด้วย ตามหลักแต่ไม่ได้มีการถูกเขียนระบุบังคับไว้ชัดเจนคือ ลูกนั้นสามารถใช้ระยะเวลาในช่วงวันหยุดสัปดาห์ทุกๆสองสัปดาห์อยู่กับฝั่งพ่อหรือแม่ที่ไม่ได้อยู่ดูแลลูก หรือรวมถึงหนึ่งถึงสองครั้งภายในสัปดาห์ นอกเหนือจากนั้นยังสามารถตกลงแบบโมเดลการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ มีการเปลี่ยนการดูแลลูก เช่น เปลี่ยนทุกๆสัปดาห์ แต่นั้นอาจจะส่งผลถึงเรื่องค่าเลี้ยงดูและเรื่องสิทธิในการรับเงินลูกจากรัฐด้วย ในการเยี่ยมเยือนลูกนั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ในชีวิตทั้งของฝั่งพ่อแม่และตัวเด็กด้วย ในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายอาศัยอยู่ห่างจากกันมาก อาจตกลงให้มีการเยี่ยมเยือนในช่วงปิดเทอมระยะนาน โดยกรณีนี้จะต้องมีการคำนึงถึงอายุของเด็กด้วย เพราะเมื่อถึงวันใดวันหนึ่งตัวเด็กเองก็จะมีความต้องการส่วนตัวสูง และอาจไม่ต้องการที่จะทำการเยี่ยมเยือนตามที่ทั้งฝ่ายพ่อและแม่ได้ตกลงกันไว้อย่างเข้มงวดก็เป็นได้ แต่อาจต้องการที่จะให้เยี่ยมเยือนแบบกระทันหันหรือแบบเตรียมตัวไม่ทันก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามควรจะมีการทำตามข้อตกลงอย่างเข้มงวด หากฝ่ายที่เป็นแม่ พยายามที่จะพูดชักชวนลูกว่าพ่อนั้นเป็นคนไม่ดี และไม่ควรที่จะไปติดต่อหรือไปมาหาสู่กับพ่อ นั่นหมายถึงว่าตัวคุณเองนั้นก็ไม่มีความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูลูกได้ดีเช่นเดียวกันกับในกรณีที่ผู้เป็นพ่อ ที่สัญญากับลูกไว้ว่าตนนั้นจะไปรับลูก แต่ถึงเวลาตัวเองก็ไม่ไปตามที่รับปาก เพราะสิ่งที่เหลือนั้นก็เพียงแค่เด็กคนเดียวเท่านั้นที่ผิดหวัง และนั่นอาจส่งผลกระทบถึงการเจริญเติบโตของลูกคุณในอนาตคในการเป็นผู้ใหญ่ที่จะมีความรับผิดชอบ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้คนอื่นได้

ทนายความหญิงทนายความหญิง โฟลริน่า กุทมัน และ ทนายความหญิง นิโคล ไบเยอร์ ทนายความและทนายผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสังคม