คำถามจากนักอ่านชาวเยอรมันท่านหนึ่ง นาย เฮลหมุด S.จากเบอร์ลิน : ผมกับคู่รักชาวไทย ซึ่งยังไม่ได้แต่งงานกัน แต่ได้มีลูกสาวด้วยกัน หนึ่งคนอายุได้ หนึ่งขวบ  ผมได้ไปทำเรื่องยืนยันรอบรองบุตร (Vaterschaftsanerkennung )เรียบร้อยแล้ว  แต่ทว่าคู่รักของผมยังเธอยังไม่ได้หย่ากับสามีเก่า เพราะฉนั้นลูกสาวของเราจึงจำเป็นต้องใช้นามสกุลของ สามีเก่าของเธอ หลังจากที่ผมได้ไปสอบถามและรับคำแนะนำจาก ทางสำนักงานการจดทะเบียน ( Standesamt ) ว่าชื่อสกุลนั้นไม่สามารถเปลี่ยนเป็นชื่อสกุลของผมได้  ผมใคร่ขออยากทราบว่ามันจริงเหรอครับ? แล้วจะมีวิธีไหนบ้างที่จะ ช่วยให้ลูกของผมได้ใช้นามสกุลที่ถูกต้องของผมครับ

คำตอบ กรณีแรก : ถ้าแม่ของเด็กยังไม่ได้หย่า เด็กจะได้ใช้นามสกุลของ ทางฝ่ายสามีของแม่เด็กทันที และมันจะไม่ขึ้นอยู่กับว่า แม่ของเด็กจะยังมีความสัมพันธ์ หรือมีการติดต่อกับสามีเก่าหรือไม่ ส่วนทางพ่อที่แท้จริงของเด็กนั้น เมื่อต้องการให้เด็กใช้นามสกุลของตนก็สามารถไม่มีความยุ่งยากแต่อย่างได ถ้ามีการยื่นเรื่องขอหย่าในช่วงเวลาก่อนที่เด็กจะคลอด จะต้องมีการทำเอกสารการรับรองบุตร โดยสามารถทำได้โดยฝ่ายที่เป็นพ่อที่แท้จริง ฝ่ายแม่ของบุตร และทางฝ่าสามีเก่าที่ไม่ใช่พ่อของเด็ก แต่เอกสารนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อการหย่าได้เสร็จสิ้นลงตามกฏหมายนั่นเอง หลังจากนั้นถึงจะสามารถทำการยื่นเรื่องขอเปลี่ยนนามสกุลให้บุตรได้ เพราะฉนั้นถ้าการอย่าได้สิ้นสุดลง ก็จะมีการจดทะเบียนนามสกุลของพ่อที่แท้จริงของบุตรลงไปในใบเกิด ถ้าในกรณีที่ได้มีการระบุว่า ผู้ปกครองทั้ง สองฝ่ายจะดูแลบุตรร่วมกัน ผู้ปกครองทั้งคู่จะสามารถระบุไปพร้อมกับการขอเปลี่ยนนามสกุลของบุตรได้ภายในเวลาสามเดือน

คำตอบ กรณีที่สอง : ถ้าการยื่นเรื่องหย่า ได้เกิดขึ้นหลังการคลอดของบุตร จะมีความยุ่งยากมากกว่ากรณีแรก ซึ่งมีทางเดียวที่จะขอเปลี่ยนนามสกุลได้คือ ต้องมีการยื่นเรื่องคัดค้านต่อศาลในการขอเป็นพ่อของบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา   §1599 BGB และผู้ที่มีสิทธยื่นขอเป็นพ่อของบุตรตามมาตรา § 1599b BGB คือคนที่มีความน่าจะเป็นพ่อของเด็ก คือคนที่ต้องให้คำรับรองสาบานว่าเป็นบุตรของตนจริง คือคนที่มีความเป็นไปได้ที่จะให้บุตรเปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อของตน และมีความเหมาะสมในทุกด้าน แล้วกระบวนการตรวจสอบของศาลนั้นจะใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน และเกือบทุกครั้งจะเป็นสาเหตุในการที่ต้องทำใบรับรองการสือสกุลโดยผ่านศาลนั่นเอง

 

สำหรับท่านไดที่มีคำถาม และต้องการรับคำปรึกษาเพิ่มเติม ทางเรายินดีให้คำปรึกษาในวาระต่อไป

ทนายหญิง นัทยา บืมไลน์

ทนายความหญิงผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายทางสังคม และทุกๆด้าน